Thursday, October 7, 2010

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี สถานที่สำคัญทางศาสนา


วัดวังก์วิเวการาม

อยู่เลยจากตัวอำเภอสังขละบุรีไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดจำพรรษาของ “หลวงพ่ออุตตมะ” ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวไทย ชาวมอญ รวมทั้งชาวกระเหรี่ยงและพม่า

วัดลาดขาม (หลวงพ่อแสนเหรียญ)

วัดลาดขาม ตั้งอยู่ที่ตำบลพนมทวน อำเภอพนมทวน พระพุทธเบญจนวมงคลกาญจน์แห่งวัดลาดขามนั้น เป็นพระพุทธรูปที่เลื่องลือในปัจจุบัน ทั้งในด้านของความศักดิ์สิทธิ์และความแปลกมหัศจรรย์ ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าองค์พระปฏิมากรนี้ได้ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากเหรียญเงิน ตราต่าง ๆ จำนวนนับแสนเหรียญ

พระปรางค์เขารักษ์

พระปรางค์ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขาที่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้อันเขียวขจี โดยองค์พระปรางค์เป็นศิลปะแบบขอม รูปทรงคล้ายฝักข้าวโพด ตั้งอยู่บนยอดเขารักษ์ มีกำแพงอิฐโดยรอบ บันไดขึ้นสู่ยอดเขามีจำนวน 352 ขั้น สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ใช้อิฐแบบเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

Tuesday, October 5, 2010

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี



สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

ตั้งอยู่ริมถนนแสงชูโต (ทางหลวงหมายเลข 323) ก่อนจะเข้าตัวเมือง สุสานแห่งนี้เป็นสุสานของเชลยศึกสัมพันธมิตรที่เสียชีวิตในระหว่างการสร้าง ทางรถไฟสายมรณะ







ด่านเจดีย์สามองค์

เขตสิ้นสุดชายแดนไทยด้านทิศตะวันตก ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองลู ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 โดยก่อนถึงตัวอำเภอสังขละบุรี 4 กิโลเมตร

อุทยานมัจฉาวังสังกะวาส

อุทยานแห่งนี้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไปที่นิยมมาให้ อาหารปลา เวลากลางวันจะพบปลาตะเพียน ในเวลาหนึ่งทุ่มเป็นต้นไปจึงจะพบปลาสังกะวาสซึ่งนับวันจะหาดูได้ยาก


สะพานข้ามแม่น้ำแคว

ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขาม ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 323 ประมาณ 4 กิโลเมตร แยกซ้ายประมาณ 400 เมตร มีป้ายชี้บอกทางไว้ชัดเจน

Sunday, October 3, 2010

ข้อมูลจังหวัดกาญจนบุรี


กาญจนบุรีคือดินแดนแห่งธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ด้วยผืนป่า พรรณไม้ โถงถ้ำ น้ำตก และประเพณีวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนหลากเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกัน อย่างเอื้ออารี ทั้งไทย พม่า มอญ ปากะญอ (กะเหรี่ยง) ฯลฯ

ยิ่งไป กว่านั้น กาญจนบุรียังเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีอนุสรณสถานหลายแห่งปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐาน เช่น สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสานทหารสัมพันธมิตร พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด ฯลฯ

ด้วย ความหลากหลายของพื้นที่และเรื่องราวที่สั่งสมอยู่ในจังหวัดชายแดนตะวัน ตกแห่งนี้ กาญจนบุรีจึงเป็นจุดหมายปลายทางที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวทุกสไตล์ ทุกวัย และทุกฤดูกาล

จังหวัดกาญจนบุรีมีเนื้อที่ประมาณ 12 ล้านไร่ หรือ 19,483 ตารางกิโลเมตร ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและเทือกเขาสูง โดยมีแม่น้ำสายหลัก 2 สาย คือ แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ที่ไหลขนานลงมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลองที่ตัวเมืองกาญจนบุรี

ความ เป็นมาของกาญจนบุรีเท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองฯ ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม สมัยบายน

ความเป็นมาของกาญจนบุรียังปรากฏใน พงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญจนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตน โกสินทร์

ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467

เหตุการณ์ที่ทำให้กาญจนบุรีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นตัดสินใจสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ จากชุมทางหนองปลาดุกในประเทศไทย ไปยังเมืองทันบีอูซายัตในพม่า โดยเกณฑ์เชลยศึกและแรงงานจำนวนมากมาเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งจากความเป็นอยู่ที่ยากแค้นและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า ซึ่งภาพและเรื่องราวของความโหดร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในกาญจนบุรี

จังหวัดกาญจนบุรีแบ่งเขต การปกครองออกเป็น 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ อำเภอพนมทวน อำเภอไทรโยค อำเภอสังขละบุรี อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง อำเภอทองผาภูมิ อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอหนองปรือ และอำเภอห้วยกระเจา